เกียรติประวัติ ของ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จทางด้านการแพทย์มากมาย โดยผลงานเด่น ๆ มีดังนี้ [27]

  • พ.ศ. 2491 คณะแพทยศาสตร์ค้นคว้าวิจัย Leptospirosis หรือ โรคฉี่หนูจนเป็นที่อ้างอิงในระดับนานาชาติ[28]
  • พ.ศ. 2494 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัด Leino-renal shunt รักษาโรคหลอดเลือดที่หลอดอาหารโป่งพองครั้งแรกของประเทศ
  • พ.ศ. 2494 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัด Pneumonectomy ครั้งแรกของประเทศ
  • พ.ศ. 2494 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการรักษาโปลิโอด้วย Artificial Respirator เครื่องแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2494 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการทำ Cerebral angiography & air study ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2495 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2496 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดการโป่งของหมอนรองกระดูกสันหลังรายแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2496 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการ Cardiac Catheterization ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2496 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัด Lobectomy ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2496 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดหัวใจ Patent ductus arteriosus ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2497 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเข้าในหัวใจครั้งแรกของประเทศไทย (closed mitral valvulotomy)
  • พ.ศ. 2500 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการทำ TUR-P รายแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2501 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการรักษามะเร็งด้วย Cobalt 60 ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2502 การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาดำครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2502 ผ่าตัดหัวใจโดยใช้เครื่องปอดหัวใจเทียมครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2504 ผ่าตัดหูโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2505 เปิดสาขาประสาทศัลยศาสตร์และแผนกวิสัญญีวิทยาเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2507 ริเริ่มรักษาไตวายด้วยเครื่องฟอกไตเทียมเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2508 เปิดหน่วยวิจัยคุมกำเนิดและวางแผนครอบครัวเป็นแห่งแรกของประเทศ
  • พ.ศ. 2511 ริเริ่ม Radioimmunoassay แห่งแรก
  • พ.ศ. 2513 ริเริ่มให้วัคซีน BCG ในเด็กแรกคลอดทุกราย
  • พ.ศ. 2514 ริเริ่มการใช้ Lithium รักษา Manic depressive ครั้งแรก
  • พ.ศ. 2515 การผ่าตัดเปลี่ยนไตเป็นครั้งแรกของประเทศไทย[29]
  • พ.ศ. 2516 จัดตั้งห้องปฏิบัติการโครโมโซมแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2516 ริเริ่มการผ่าตัดสายตาด้วยเลเซอร์เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2517 ริเริ่มการใช้ ultrasound เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2517 ริเริ่มการทำหมันผ่านช่องคลอด
  • พ.ศ. 2519 ริเริ่มรักษาทางจิตเวชด้วยการช็อกไฟฟ้า โดยการดมยาสลบเป็นครั้งแรกของประเทศ
  • พ.ศ. 2521 ริเริ่มโครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบทแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2522 ริเริ่มผ่าตัดทำหมันหญิงโดยใช้ห่วง Falopering ผ่านกล้องเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2523 ทำ Transphenoidal surgery for pituitary tumor เป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2524 ริเริ่มการใช้ CT scan เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2525 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดแยกแฝดสยามรายแรกของประเทศและรายที่ 3 ของโลก
  • พ.ศ. 2525 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดย้ายนิ้วเท้ามาแทนนิ้วมือด้วยจุลศัลยกรรมครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2525 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเนื้องอกลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้องครั้งแรก
  • พ.ศ. 2527 วินิจฉัยผู้ป่วยเอดส์รายแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2528 ริเริ่มรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยแร่กัมมันตภาพรังสี Cs137
  • พ.ศ. 2528 First Cochlear transplantation
  • พ.ศ. 2529 ริเริ่มทำ Fine needle aspiration ครั้งแรก
  • พ.ศ. 2529 ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดรักษาโรคงวงช้างด้วยวิธี "จุฬาฯ เทคนิค" โดยไม่ต้องเปิดกระโหลกศีรษะเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เป็นความสำเร็จที่มีชื่อเสียงอย่างมากในระดับนานาชาติ[30]
  • พ.ศ. 2530 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นครั้งแรก ในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2530 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการรักษาภาวะการมีบุตรยากด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว (Thailand First test tube baby) รายแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย
  • พ.ศ. 2531 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนตับเป็นครั้งแรกใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • พ.ศ. 2531 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการใช้เครื่องระเบิดนิ่วรายแรก
  • พ.ศ. 2531 คณะแพทยศาสตร์ริเริ่มโครงการผลิตแพทย์แนวใหม่ ครั้งแรกของประเทศไทยโดยความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-กองทัพอากาศ
  • พ.ศ. 2535 ตั้งคลินิกสตรีวัยทอง (Manopause) แห่งแรก
  • พ.ศ. 2535 ริเริ่มผ่าตัดผ่านกล้อง Arthroscope ครั้งแรก
  • พ.ศ. 2540 ริเริ่มทำ Ultrasound 3 มิติแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • พ.ศ. 2540 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการคิดค้นวิธีการเตรียม soft cadever ที่มีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อของมนุษย์ที่มีชีวิตครั้งแรกของประเทศ ทำให้คณะฯมีชื่อเสียงและเป็นศูนย์กลางของการจัดทำ workshop โดยการฝึกผ่าตัดกับร่างอาจารย์ใหญ่
  • พ.ศ. 2544 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าคลอดท้องนอกมดลูกที่วินิจฉัยและเลี้ยงไว้ได้นานที่สุดได้สำเร็จเมื่ออายุครรภ์ได้ 34 สัปดาห์
  • พ.ศ. 2546 ริเริ่มทำ Ultrasound Realtime 4 มิติ แห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2546 นิสิตแพทย์ จุฬาฯ พิชิตรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันโครงการวิจัยของนิสิตนักศึกษาแพทย์ในเอเชีย จากการศึกษาตรวจหาเชื้อไวรัสไข้เลือดออกในยุงลายในฤดูแล้งก่อนที่โรคไข้เลือดออกจะระบาด
  • พ.ศ. 2547 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากรกเด็กรักษาโรคธาลัสซีเมียและโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิดได้หายขาดสำเร็จเป็นรายแรกของอาเซียน
  • พ.ศ. 2547 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนข้อกระดูกสันหลังเทียม
  • พ.ศ. 2548 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้วยกล้องส่อง
  • พ.ศ. 2548 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดรักษาโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติในโรคพาร์กินสันและโรคดิสโทเนียด้วยเทคนิคใหม่เป็นครั้งแรกในไทยและเอเชีย
  • พ.ศ. 2550 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดก้อนฮีมาร์โตมา(Hematoma) ในโพรงสมองด้วยวิธีการส่องกล้องรายแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2550 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการสร้างสายพันธุ์เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนของมนุษย์ (Human Embryonic Stem Cells) สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2550 นิสิตแพทย์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล AMEE awards ในหมวด teaching & learning และหมวด student issues จากการนำเสนอเรื่อง Cinemeducation: Learning professionalism through films at Chulalongkorn Medical School ในการประชุม Association of medicial Education in Europe 2007 ณ เมือง Trondheim ราชอาณาจักรนอร์เวย์
  • พ.ศ. 2552 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนของมนุษย์ (Human Embryonic Stem Cells Bank) สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย สายพันธุ์เซลล์ต้นกำเนิดสายพันธุ์ไทย ชื่อ Chula2.hES ได้รับการยอมรับเป็นครั้งแรกในระดับนานาชาติ และขึ้นทะเบียนกับสหภาพยุโรป[31]
  • พ.ศ. 2556 ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยื่นจดสิทธิบัตรรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งผ่านการทำวิจัยในกลุ่มผู้สูงอายุจนได้รูปแบบรองเท้าที่เหมาะสม สามารถลดปัญหาสุขภาพเท้าในผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี[32]
  • พ.ศ. 2557 ถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียม การทำหัตถการสวนหัวใจเพื่อรักษาผู้ป่วยโครงสร้างหัวใจผิดปกติในการประชุมนานาชาติ Cardiac Structural Intervention (CSI) โดยนำเสนอการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (Transcatheter Aortic Valve Implantation - TAVI) ซึ่งประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ[33]
  • พ.ศ. 2558 คณะแพทยศาสตร์ ได้รับรางวัล ASPIRE to Excellence Awards สาขา Student Engagement ในการประชุม Association for Medical Education in Europe (AMEE) ณ ประเทศสหราชอาณาจักร โดย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชียที่เคยได้รับรางวัลนี้[34]
  • พ.ศ. 2558 ห้องปฏิบัติการของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นห้องปฏิบัติการแห่งแรกในประเทศไทยที่ตรวจพบโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง[35][36]
  • พ.ศ. 2558 ห้องปฏิบัติการของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นห้องปฏิบัติการแห่งแรกในประเทศไทยที่สามารถตรวจเชื้อไวรัสอีโบลาได้[36]
  • พ.ศ. 2559 ปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือด ด้วยเทคนิคล้างน้ำเหลืองปลูกถ่ายไตโดยไม่ทำลายภูมิคุ้มกันทั้งหมด เป็นรายแรกในอาเซียน[37]
  • พ.ศ. 2560 คณะแพทยศาสตร์ สามารถรักษาโรคหอบหืดเรื้อรังขั้นรุนแรงโดยการส่องกล้องจี้หลอดลมด้วยความร้อน (Bronchial thermoplasty) ได้สำเร็จเป็นแห่งแรกในประเทศไทย[38]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/771520 http://www.chulasurgery.com/ http://www.cu-obgyn.com/ http://maps.google.com/maps?ll=13.733237,100.53679... http://www.mdcualumni.com/th/kingRama8.php http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7332... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.thaicraniofacial.com/ http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-1... http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-5...